วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

รูปแบบการพัฒนาทักษะกระบวนการ 9 ขั้นตอน

รูปแบบการพัฒนาทักษะกระบวนการ 9 ขั้นตอน
ความหมาย
การสอนที่เน้นทักษะกระบวนการ 9 ขั้นเป็นการดำเนินการเพื่อให้ผู้เรียนสามารปฏิบัติงาน
โดยผู้ให้เป็นไปตามลำดับขั้นตอน หรือที่เรียกว่าทำงานเป็น โดยผู้เรียนจะต้องรู้จักการวางแผนการทำงาน
การทำงานตามแผน และประเมินผลสรุป ซึ่งเป็นวิธีการทีเป็นรูปธรรมและต้องการให้ผู้เรียนมีทักษะ
กระบวนการในการทำงานติดตัวไปใช้ในชีวิตประจำวันทั้งปัจจุบันและอนาคต ดังนั้นทักษะกระบวนการ9
ขั้น จึงเป็นกระบวนการปฏิบัติหรือกระบวนการทำงานที่ครบขั้นตอนนับแต่เริ่มแรกจนงานแล้วเสร็จเป็น
อย่างดีและมีคุณภาพ
ทฤษฏี/แนวคิด
โดยทั่วไปการทำงานมีลักษณะเป็นกระบวนการอยู่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกระบวนการ
ทางด้านความรู้ ความคิด แต่ทักษะกระบวนการจะเป็นกระบวนการหลัก หรือกระบวนการแม่บทที่เกิด
จากการนำกระบวนการต่างฯมาประมวลเข้าด้วยกัน เริ่มตั้งแต่การมองเห็นความสำคัญค้นหาวิธีการทำ
หลายฯวิธีแล้วจึงเลือกวิธีที่ให้ผลดีที่สุด จากนั้นจึงวางแผนกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติ ซึ่งขณะนำแผนไป
ปฏิบัติก็จะประเมินและปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอจนกว่างานนั้นจะเสร็จ
เนื่องจากทักษะกระบวนการไม่ใช่วิธีสอน แต่เป็นกระบวนการทำงานที่ใครฯ ก็นำไปใช้ได้การ
สอนแบบทักษะกระบวนการ ครูจึงต้องเลือกใช้วิธีสอนให้เหมาะสมกับพื้นฐานและความพร้อมของผู้เรียน
สอดคล้องกับเวลาและข้อจำกัดอื่นฯ โดยครูนำผู้เรียนผ่านขั้นตอนต่างฯ ของทักษะกระบวนการตาม
จุดประสงค์การเรียนรู้ในบทนั้น โดยพยายามเลือกวิธีสอนที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้เรียนให้มากที่สุดส่วน
ผู้เรียนจะรับรู้ทักษะกระบวนการในลักษณะเป็นเครื่องมือไม่ใช่ลักษณะของเรอื่ งที่จะให้ผู้เรยี นรู้แบบ
เนื้อหาจนผู้เรียนสามารถใช้ทักษะกระบวนการเป็นเครื่องมอื ไปปฏิบัติเรื่องอื่นฯได้จริง
การสอนที่เน้นกระบวบการ เป็นกระบวนการที่ได้มาซึ่งความรู้ ความคิด เจตคติ ค่านิยม
และทักษะในการปฏิบัติของเนื้อหาวิธีสอน เป็นการสอนโดยอาศัยกระบวนการของศาสตร์นั้นเป็นหลัก แต่การสอนให้ผู้เรียนได้รู้จักคิด รู้จักทำ รู้จักแก้ปัญหาและรู้จักพัฒนา กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ
เสนอแนะให้ใช้ทักษะกระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จะใช้ฝึกผู้เรียนให้รู้จักคิดเป็น ทำ
เป็น และแก้ปัญหาได้โดย สรุปว่าได้มีการศึกษาหลายท่านสังเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ให้เป็นมาตรฐาน
เดียวกัน 9 ขั้นตอนดังนี้.
นวัตกรรมที่เป็นแนวคิด รูปแบบ และกระบวนการจัดการเรียนรู้
1.ขั้นตระหนักในปัญหาและความจำเป็น
2.ขั้นคิด วิเคราะห์อย่างรอบคอบความจำเป็น
3.ขั้นสร้างทางเลือกอย่างหลากหลาย
4.ขั้นประเมินและเลือกทางเลือกย่างเหมาะสม
5.ขั้นกำหนดขั้นตอนลำดับได้อย่างได้อย่างเหมาะสม
6.ขั้นปฏิบัติได้อย่างชื่นชม
7.ขั้นประเมินด้วยตนเองระหว่างปฏิบัติ
8.ขั้นตอนปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
9.ขั้นประเมินผลเพื่อความภูมิใจ
แนวทางการจัดการเรียนรู้
ทักษะกระบวนการแต่ละขั้นมีรายละเอียดของกิจกรรมและพฤติกรรมที่แสดงออการางที่3 ทักษะกระบวนการ 9ขั้น กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง และพฤติกรรมที่แสดงออก(ต่อ)
ทักษะกระบวนการ กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง พฤติกรรมการแสดงออก

การสอนที่เน้นทักษะกระบวนการ 9 ขั้นตอน สรุปว่าครูผู้สอนจะต้องเสนอถึงความแตกต่างระหว่างสิ่งที่
ควรเป็นและสิ่งที่เป็นอยู่ชี้ให้เห็นถึงผลการปฏิบัติที่เกิดขึ้นการซักถามให้ผู้เรียนรู้จักวิเคราะห์ความสำคัญ
หาองค์ประกอบการจัดหมวดหมู่และสรุปหลกั การต่างๆ

นวัตกรรมที่เป็นแนวคิด รูปแบบ และกระบวนการจัดการเรียนรู้
อย่างไรก็ตามทักษะกระบวนการไม่ใช่วิธีการสอนหรือขั้นตอนการสอนอย่างที่หลายคนเข้าใจ
แต่เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมหรือต่อยอดของกิจกรรมการเรียนการสอนให้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตรอัน
หมายถึงกระบวนการจำเป็นอย่างยิ่งทีจะต้องมีสื่อการสอนประเภทต่างๆอย่างเพียงพอ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเข้าสู่ทักษะกระบวนการครูผู้สอนจะต้องกำหนด
สถานการณ์หรือภาระงานในส่วนจุดประสงค์ของการเรยี นรู้อย่างชัดเจนก่อนลงมือทำ
การนำทักษะกระบวนการไปสอนเพื่อให้ผู้เรียนรู้และสามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานได้จริง
เสมือนเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น
ผู้เรียนรู้ที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นทักษะกระบวนการมาเป็นอย่างดีแล้วตลอด
ช่วงเวลาหรือจบรายวิชาหนึ่งๆ
การสอนของครูต้องเป็นไปตามขั้นตอนให้ผู้เรียนรับรู้และเข้าใจต่อเนื่องสัมพันธ์กันตั้งแต่ต้นจนจบทักษะ
กระบวนการอย่างครบวงจร
การสอนที่สอนแบบเน้นเนื้อหาวิชา หรอื ปฏิบัติให้เรียนทำตามอย่างเพียงอย่างเดยี ว มาเป็น
การสอนโดยผสมผสานให้ปฏิบัติงานเป็นกระบวนการอย่างจรงิ จัง เสรมิ สร้างประสบการณ์ที่ละขั้นอย่าง
ต่อเนื่องจนเกิดทักษะกระบวนการหลายๆอย่างที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม
การนำทักษะกระบวนการเข้าสู่สถานการณ์การเรียนการสอน ให้ห้องเรียน สามารถกระทำ
ได้2 ลักษณะ ดังนี้
1.ครูผู้สอนใช้ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น เป็นแนวทางในการแสดงพฤติกรรมของตนในการ
ปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนรู้ในห้องเรียนอย่างเป็นทางการ หรือการพูดคุยซักถามอื่นๆ พฤติกรรมของครูจะมี
ส่วนสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาทักษะการะบวนการหลายอย่าง เช่น
1.1 การตั้งคำถามให้ผู้เรียนต้องใช้ความคิดและหาเหตุผล
1.2 การนำเสนอข้อมูลหรือประสบการณ์ผู้เรียนสังเกตสภาพที่เป็นปัญหา
1.3 สนับสนุนให้ผู้เรียนคาดการณ์สร้างสมมุติฐาน และทางเลือกอย่างมีเหตุผลอย่าง
หลากหลาย
1.4 กระตุ้นให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมูล เพื่อทดสอบสมมุติฐานหรือการคาดการณ์ของตน
1.5 ให้โอกาสผู้เรียนวางแผนและดำเนินการอย่างมีอิสระ ภายใต้การดูแลและการสนับสนุน
ของครูตามสมควร
1.6ให้โอกาสผู้เรียนได้นำเสนอผลงานและให้ผอูื้่นได้แสดงความคิดเห็นในเชิงสร้างสรรค์

2. การใช้ทักษะกระบวนการเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูจะต้อง
พิจารณากลั่นกรองทักษะกระบวนการ 9 ขั้น โดยวิเคราะห์เนื้อหาและจุดประสงค์ของรายวิชาที่สอนเพื่อ
สร้างขั้นตอนทักษะกระบวนการที่เหมาะสมกับรายวิชาแล้วนำขั้นตอนเหล่านั้นมาจัดกิจกรรมการเรียนการ
สอน โดยการจัดประสบการณ์โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้โอกาสกับผู้เรยี นรู้ที่ให้โอกาสกับ
ผู้เรียนในการฝึกทักษะหรือฝึกปฏิบัติขั้นตอนต่างๆในกระบวนการที่เหมาะสมกับเนื้อหาและจุดประสงค์
ของรายวิชา
ข้อค้นพบจากการวิจัย
จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น มีข้อค้นพบจากการวิจัยดังนี้
1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้วิจัยกับผู้เรียน ชั้นประถมปีที่5 กลุ่มเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิต
เรื่องข่าว และเหตุการณ์พบว่าการสอนโดยใช้ทักษะกระบวนการ9 ขั้น ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ผล
ทางการเรียนสูงกว่าการสอนปกติวิจัยเปรียบเทียบผลการสอนที่ใช่สอนที่ปกติเรื่องการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า
ภายในบ้าน พบว่าผู้เรียนที่ได้รับการสอนใช้ทักษะการะบวนการ 9 ขั้น มคี ะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
สูงกว่า วิจัยการสอน (สงบ ลักษณะ 2534 : 34-42)
-----------------------------------------
อ.เมธี ฉัตรทอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น