วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

ส่วนประกอบภายนอก

ส่วนประกอบภายนอก
1. จอภาพ (Monitor)
             จอภาพเป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีชื่อเรียกมากมาย เช่น Monitor, CRT (Cathode Ray Tube) ปกติแล้วจอภาพสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ




    • จอภาพสีเดียว (Monochrome Monitor)
              จอภาพที่รับสัญญาณจากการ์ดควบคุม ในลักษณะของสัญญาณดิจิตอล คือ 0 กับ 1 โดยการกวาดลำอิเล็กตรอนไปตกหน้าจอ แล้วเกิดเป็นจุดเรืองแสง จะให้สัญญาณว่าจุดไหนสว่าง จุดไหนดับ จอภาพสีเดียวเวลานี้ไม่มีผู้นิยมแล้ว
    • จอภาพหลายสี (Color Monitor)
              จอภาพที่รับสัญญาณดิจิตอล 4 สัญญาณ คือ สัญญาณของสีแดง, เขียว, น้ำเงิน และสัญญาณความสว่าง ทำให้สามารถแสดงสีได้ 16 สี ถึง 32 ล้านสี
               การทำงานของจอภาพ เริ่มจากการกระตุ้นอุปกรณ์หลอดภาพให้ร้อน เกิดเป็นอิเล็กตรอนขึ้น และถูกยิงด้วยปืนอิเล็กตรอน ให้ไปยังจุดที่ต้องการแสดงผลบนจอภาพ ซึ่งที่จอภาพจะมีการเคลือบสารฟอสฟอรัสเรืองแสง เมื่ออิเล็กตรอนเหล่านี้วิ่งไปชน ก็จะทำให้เกิดแสงสว่าง ซึ่งจะประกอบกันเป็นรูปภาพ ในการยิงลำแสดงอิเล็กตรอน มันจะเคลื่อนที่ไปตามแนวขวาง จากนั้นเมื่อกวาดภาพ มาถึงสุดขอบด้านหนึ่ง ปืนลำแสงก็จะหยุดยิง และ ปรับปืนอิเล็กตรอนลงมา 1 line และ เคลื่อนที่ไปยังขอบอีกด้านหนึ่ง และทำการยิ่งใหม่ ลักษณะการยิงจึงเป็นแบบฟันเลื่อย



2. เคส (Case)

              เคสของคอมพิวเตอร์ถึงแม้จะมีคุณสมบัติเป็นเพียงเปลือกห่อหุ้มภายนอก   แต่ก็มีคุณสมบัติหลายอย่างไปตามชนิดของเคส เช่น เคสแบบ ATX จะมีคุณสมบัติในการระบายความร้อนได้ดีกว่า เคสแบบ AT และมีคุณสมบัติในการสนับสนุนระบบเพาเวอร์ชัตดาวน์ ของระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ๆ ซึ่งเคสแบบ AT นั้นไม่มี   เคสจะมีสิ่งหนึ่งที่ติดตั้งควบคู่มากับเคสและก็มีความสำคัญพอควร นั้นคือ เพาเวอร์ซัพพลาย ซึ่งเป็นตัวจ่ายกระแสไฟฟ้า ให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ ในการเลือกเคส ต้องคำนึงถึง ตัวเพาเวอร์ซัพพลายว่ามีกำลังในการจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์เพียงพอหรือไม่ และต้องเลือกใช้กับเมนบอร์ดให้เข้ากันด้วยคือเมนบอร์ดแบบไหนก็เคสแบบเดียวกัน
3. คีย์บอร์ด (Keyboard)
              คีย์บอร์ดเป็นอุปกรณ์รับข้อมูลเบื้องต้น มีลักษณะการทำงานคล้ายคีย์บอร์ดของเครื่องพิมพ์ดีด แต่ได้เพิ่มปุ่มควบคุมเฉพาะสำหรับคอมพิวเตอร์ โดยปกติจะมี 101 คีย์ ซึ่งบางรุ่นอาจจะมีน้อย หรือมากกว่าก็ได้ โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มๆ ได้ดังนี้
    • 101-key Enhanced keyboard
    • 104-key Windows keyboard
    • 82-key Apple standard keyboard
    • 108-key Apple Extended keyboard
    • Notebook & Palm keyboard
ปุ่มต่างๆ บนคีย์บอร์ดมีจำนวนมาก ซึ่งสามารถแบ่งได้ 4 ส่วนหลัก คือ
    • Typing keys กลุ่มปุ่มพิมพ์อักขระ
    • Numeric keypad กลุ่มปุ่มตัวเลข และเครื่องหมายคำนวณ
    • Function keys กลุ่มปุ่มฟังก์ชัน F1 - F12
    • Control keys กลุ่มปุ่มควบคุมต่างๆ เช่น ลูกศร, Ctrl, Alt เป็นต้น ปุ่มฟังก์ชัน และปุ่มควบคุม ทางบริษัท IBM
      (ค.ศ. 1986) ได้พัฒนาเพิ่มเข้ามาในคีย์บอร์ด เพื่อช่วยให้การทำงานมีความสะดวกมากขึ้น

การทำงานของคีย์บอร์ด
             การทำงานของคีย์บอร์ด จะเกิดจากการเปลี่ยนกลไกการกดปุ่ม ให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า เพื่อส่งให้คอมพิวเตอร์ โดยสัญญาณดังกล่าว จะบอกให้คอมพิวเตอร์ทราบว่ามีการกดคีย์อะไร การทำงานทั้งหมดจะถูกควบคุมด้วย Microprocessor ขนาดเล็กที่บรรจุในคีย์บอร์ด และสัญญาณต่างๆ จะส่งผ่านสายสัญญาณผ่านทางขั้วต่อ ซึ่งแบ่งได้ 4 ประเภท คือ
    • 5-pin DIN (Deustche Industrie Norm) connector เป็นขั้วต่อขนาดใหญ่ ใช้กับคอมพิวเตอร์ในรุ่นแรก
    • 6-pin IBM PS/2 mini-DIN connector เป็นขั้วต่อขนาดเล็ก ปัจจุบันพบได้อย่างแพร่หลาย
    • 4-pin USB (Universal Serial Bus) connector เป็นขั้วต่อรุ่นใหม่
    • internal connector เป็นขั้วต่อแบบภายใน พบได้ใน Notebook Computer
คีย์บอร์ดในอนาคต
              ปัจจุบันคีย์บอร์ด มีการพัฒนาไปตามยุคสมัย โดยเฉพาะยุคโลกไร้พรมแดน ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์-เน็ต บริษัทผู้ผลิตหลายบริษัท ได้ทำการผลิตคีย์บอร์ด ที่มีปุ่มฟังก์ชันสำหรับตรวจสอบอีเมล์ และการเข้าสู่   อินเทอร์เน็ต ตลอดจนควบคุมระบบมัลติมีเดียต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้
4. เมาส์ (Mouse)
              อุปกรณ์รับข้อมูลที่นิยมรองจากคีย์บอร์ด ได้แก่ อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง ที่เรียกว่า เมาส์ (Mouse) หรือ "หนูอิเล็กทรอนิกส์" เนื่องจากเป็น อุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายหนู มีสายต่ออยู่ที่ปลายลักษณะเดียวกับหางหนู เมาส์จะช่วยในการบ่งชี้ตำแหน่งว่าขณะนี้กำลังอยู่ ณ จุดใดบนจอภาพ เรียกว่า "ตัวชี้ตำแหน่ง (Pointer)" ซึ่งอาศัยการเลื่อนเมาส์ แทนการกดปุ่มบังคับทิศทางบนคีย์บอร์ด
พัฒนาการของเมาส์
              เมาส์พัฒนาขึ้นมาครั้งแรก ในศูนย์ค้นคว้าที่เมืองปาโลอัลโต้ ของบริษัทซีร็อก (Xerox Corporation's Palo Alto Research Center) เมาส์มีหลายรูปร่าง หลายลักษณะ โดยเฉพาะเมาส์รุ่นใหม่ๆ จะออกแบบมาอย่างสวยงาม โดยปกติปุ่มของเมาส์ จะมี 2 ปุ่มสำหรับเมาส์ของเครื่องพีซี และปุ่มเดียวสำหรับเครื่อง Macintosh ปัจจุบันมีการพัฒนาให้เมาส์ใช้งานได้ง่ายขึ้น โดยเพิ่มปุ่มเลื่อนตรงกลาง มีลักษณะคล้ายล้อ ดังรูป เรียกว่า Intelli Mouse ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการเลื่อนจอภาพเพื่อดูข้อมูล นอกจากนี้ยังมีเมาส์ที่ทำงานด้วยสัญญาณแสง ที่เรียกว่า Infrared หรือ Wireless Mouse
             เมาส์ทำงานอย่างไร ?
             เมาส์ประกอบด้วย ลูกกลิ้งที่ติดตั้งอยู่ด้านล่าง และมีปุ่มกดควบคุม (ตั้งแต่ 1 - 3 ปุ่ม) การใช้เมาส์จะนำเมาส์วางไว้บนพื้นราบ และเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางที่ต้องการ บนจอภาพจะปรากฏ สัญลักษณ์ชี้ตำแหน่ง เรียกว่า "Mouse Pointer" (มักจะเป็นรูปลูกศรเฉียงซ้าย) เมื่อต้องการจะทำงานใดๆ ก็ทำการกดปุ่มเมาส์ ตามหลักการใช้เมาส์ คอมพิวเตอร์จะรับสัญญาณ และทำการประมวลผลต่อไป

              กลไกการทำงานของเมาส์   มี 3 ประเภท คือ Mechanical, Opto-Mechanical, Optical
    • Mechanical
              เป็นกลไกการทำงานที่อาศัยลูกบอลยาง ที่สามารถกลิ้งไปมาได้ เมื่อทำการเคลื่อนย้ายตัวเมาส์ ซึ่งลูกบอลจะกดแนบอยู่กับลูกกลิ้ง โดยแกนของลูกกลิ้ง จะต่อกับจานแปลรหัส (Encoder) บนจานจะมีหน้าสัมผัสเป็นจุดๆ เมื่อจุดสัมผัสเลื่อนมาตรงแกนสัมผัส ก็จะสร้างสัญญาณ บอกไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมควบคุมเมาส์ จะทำหน้าที่ แปลเป็นคำสั่งเคลื่อนย้ายเคอร์เซอร์ บนจอภาพต่อไป
    • Opto-Mechanical
              กลไกการทำงานคล้าย Mechanical แต่ตัวรับการเคลื่อนที่ของจาน Encoder จะมี LED อยู่อีกด้านหนึ่งของจานไว้คอยกำเนิดแสง และอีกด้านหนึ่ง จะมี Opto-Transistor (ทรานซิสเตอร์ไวแสง) ไว้คอยตรวจจับแสงแทนการใช้การสัมผัส
    • Optical
               กลไกการทำงานที่อาศัยแผ่นรองชนิดพิเศษ ซึ่งมีผิวมันสะท้อนแสง และมีตารางเส้นตามแกน X , Y โดยแกนหนึ่งเป็นสีน้ำเงิน อีกแกนเป็นสีดำ ตัดกันไว้คอยตรวจจับการเคลื่อนที่ ซึ่งบนเมาส์ จะมี LED 2 ตัวให้กำเนิดแสงออกมา 2 สี คือ สีดำ และสีน้ำเงิน LED ที่กำเนิดแสงสีดำ จะดูดกลืนแสงสีน้ำเงิน LED ที่กำเนิดแสงสีน้ำเงิน จะดูดกลืนแสงสีดำ ซึ่งตัวตรวจจับแสง เป็นทรานซิสเตอร์ไวแสง สีที่ตรวจจับได้จะบอกทิศทาง ส่วนช่วงของแสงที่หายไป จะบอกถึงระยะทางการเคลื่อนที่
 5. ลำโพง(Speaker)
              คือ อุปกรณ์ภายนอกอีกชิ้นหนึ่ง ที่เป็นอุปกรณ์สำหรับแสดงผล ซึ่งแสดงผลออกมาในรูปแบบของสัญญาณเสียง  คอมพิวเตอร์สามารถแทนชุดเครื่องเสียงแบบมินิคอมโปได้ สามารถใช้งานแทนเครื่องเล่นวิดีโอและทีวีได้ หลายคนคงเคยได้ยินเช่นนั้น การจะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานแทนแหล่งบันเทิงเหล่านั้นได้ ต้องการฮาร์ดแวร์มัลติมีเดีย ได้แก่ ไดรฟ์ซีดีรอม ไดรฟ์ดีวีดี การ์ดเสียง  การ์ด MPEG, การถอดรหัส AC- 3 (AC-3 Decoding) การ์ดประมวลผลดีวีดี และนอกเหนือจากนั้นสิ่งที่มาทำให้บรรยากาศของบันเทิงบนคอมพิวเตอร์เป็นจริงคือ ลำโพง
 6. เครื่องสำรองไฟ (UPS)

              UPS โดยทั่วไปก็จะทำหน้าที่ สำรองไฟไว้ใช้ในกรณีไฟฟ้าดับ หรือหากกระแสไฟฟ้าเกินหรือขาดไปมากกว่าค่าที่กำหนดไว้ UPS ก็จะตัดเข้าจ่ายไฟจากแบตเตอรี่ภายใน UPS เองโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังมี UPS บางยี่ห้อที่เพิ่มส่วนของ ตัวควบคุมเสถียรภาพของไฟฟ้า (Stabilizer) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุม ให้กระแสไฟฟ้าที่จ่ายออกจาก UPS มีค่าอยู่ในช่วง 210- 230 โวลต์โดยตลอด อีกส่วนหนึ่งที่ UPS สามารถป้องกันได้ ก็คือ ฟ้าผ่า เมื่อเกิดฟ้าผ่าไฟฟ้าสถิตย์จากฟ้าผ่าจะทำให้เกิดแรงเหนี่ยวนำภายในสายไฟฟ้าแรงดันไฟฟ้าสูง บางทีอาจจะถึงหลายหมื่นโวลต์ และนั่นก็คืออันตรายมากที่สุดสำหรับ เครื่องใช้ไฟฟ้า และรวมถึงคอมพิวเตอร์ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น