วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2556

การเรียนการสอนวิชาวอลเลย์บอล


กีฬาวอลเลย์บอลเป็นอีกหนึ่งชนิดกีฬายอดนิยม ที่มีการแข่งขันระดับชาติ และนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย จนถูกรวมเข้ากับหลักสูตรการเรียนการสอนชั้นมัธยมศึกษาในหลายโรงเรียน ซึ่งหลายคนก็คงอยากรู้จักกับกีฬาวอลเลย์บอลให้มากขึ้นเพื่อความสนุกในการชม และเชียร์กีฬาชนิดนี้ใช่ไหมเอ่ย ? วันนี้กระปุกดอทคอมมีข้อมูลของกีฬาวอลเลย์บอลมาฝากกันจ้า ..

ประวัติวอลเลย์บอล

          กีฬาวอลเลย์บอล (Volleyball) นั้น ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1895 (พ.ศ.2438) โดย นายวิลเลียม จี. มอร์แกน (William G. Morgan) ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. (Young Men's Christian Association) ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการมีกีฬาสำหรับเล่นในช่วงฤดูหนาวแทนกีฬากลางแจ้ง เพื่อออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจยามหิมะตก

          โดย นายวิลเลียม จี. มอร์แกน เกิดไอเดียในการพัฒนากีฬาวอลเลย์บอลขึ้น ขณะที่เขากำลังนั่งดูเทนนิส และเลือกนำเอาตาข่ายกลางสนามของกีฬาเทนนิส มาเป็นส่วนประกอบในกีฬาที่เขาคิดค้น และเลือกใช้ยางในของลูกบาสเก็ตบอล มาเป็นลูกบอลที่ใช้ตีโต้ตอบกันไปมา แต่ยางในของลูกบาสเก็ตบอลกลับให้น้ำหนักเบาจนเกินไป จึงเปลี่ยนไปใช้ลูกบาสเก็ตบอลแทน ซึ่งลูกบาสเก็ตบอลก็มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากจนเกินไปอีก เขาจึงสั่งทำลูกบอลขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะ ในขนาดเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว และกำหนดน้ำหนักไว้ที่ 8-12 ออนซ์ จากนั้นจึงตั้งชื่อกีฬาชนิดนี้ว่า มินโทเนตต์ (Mintonette)

          ต่อมา ชื่อของ มินโทเนตต์ (Mintonette) ถูกเปลี่ยนเป็น วอลเลย์บอล (Volleyball) หลังได้รับคำแนะนำจาก ศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด (Professor Alfred T. Helstead) ในงานประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ (Spring-field College) เมื่อปี ค.ศ.1896 (พ.ศ.2439) และกลายเป็นกีฬายอดนิยมในหมู่ประชาชนชาวอเมริกัน จนแพร่หลายออกไปทั่วโลก รวมทั้งมีการปรับปรุงและพัฒนาอยู่เป็นระยะ

กติกาวอลเลย์บอล

สนามแข่งขัน

          -  จะต้องเป็นพื้นไม้หรือพื้นปูนที่มีลักษณะเรียบ ไม่มีสิ่งกีดขวาง

          -   เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 9 เมตร ยาว 12 เมตร ความสูงจากพื้นประมาณ 7 เมตร มีบริเวณโดยรอบห่างจากสนามประมาณ 3 เมตร

          -  แต่หากเป็นสนามมาตรฐานในระดับนานาชาติ กำหนดให้รอบสนามห่างจากสนามประมาณ 5 เมตร ด้านหลังห่าง 8 เมตร และมีความสูง 12.5 เมตร

          -  เส้นรอบสนาม (Boundary lines) ทุกเส้นจะต้องกว้าง 5 เซนติเมตร เป็นสีอ่อนตัดกับพื้นสนาม มองเห็นได้ชัดเจน

          -  เส้นแบ่งเขตแดน (Center line) ที่อยู่ตรงกลางสนาม จะต้องอยู่ใต้ตาข่าย หรือตรงกับเสาตาข่ายพอดี

ตาข่าย

          -  จะต้องมีความสูงจากพื้น 2.43 เมตร กว้าง 1 เมตร ยาว 9.5 - 10 เมตร

          -  ตารางในตาข่ายกว้าง 10 เซนติเมตร ผู้ติดไว้กับเสากลางสนาม

          -  ตาข่ายสำหรับทีมหญิงสูง 2.24 เมตร


ประวัติความเป็นมา กีฬาวอลเลย์บอล

ลูกวอลเลย์บอล

          -  เป็นทรงกลมมีเส้นรอบวงประมาณ 65-67 เซนติเมตร น้ำหนัก 260-280 กรัม

          -  ทำจากหนังสังเคราะห์ที่ยืดหยุ่นได้

          -  ซึ่งในการแข่งขันระดับโลกจะใช้ลูกบอล 3 ลูกต่อการแข่งขัน เพื่อความต่อเนื่องหากบอลออกนอกสนาม

ผู้เล่น

          -  ในทีมจะต้องมีผู้เล่นไม่เกิน 12 คน ผู้ฝึกสอน 1 คน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน 1 คน เทรนเนอร์ 1 คน และแพทย์ 1 คน

          -  ผู้เล่นจะลงเล่นในสนามได้ครั้งละ 6 คน โดยแบ่งออกเป็นหน้าตาข่าย 3 คน และด้านหลังอีก 3 คน

          -  สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นครั้งละกี่คนก็ได้ โดยผู้เล่นเดิมที่ถูกเปลี่ยนออก สามารถเปลี่ยนกลับมาเล่นในสนามได้อีก

          -  การแต่งกายในชุดแข่งขัน ต้องแต่งกายเหมือนกันทั้งทีม ประกอบไปด้วย เสื้อสวมคอ กางเกงขาสั้น ถุงเท้า และรองเท้าผ้าใบพื้นยางที่ไม่มีส้น โดยผู้เล่นแต่ละคนจะต้องติดหมายเลขกำกับไว้ที่เสื้อ กำหนดให้ใช้เลข 1-18 เท่านั้น สำหรับหัวหน้าทีมจะต้องมีแถบผ้าขนาด 8x2 เซนติเมตร ติดอยู่ใต้หมายเลขบริเวณอกเสื้อด้วย

ประวัติความเป็นมา กีฬาวอลเลย์บอล

วิธีการเล่น

          -  ทีมที่ได้เสิร์ฟ จะต้องให้ผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งขวาหลัง เป็นผู้เสิร์ฟเพื่อเปิดเกม จากนั้นผู้เล่นทุกตำแหน่งจะขยับตำแหน่งวนไปตามเข็มนาฬิกา

          -  การเสิร์ฟจะต้องรอฟังสัญญาณนกหวีดก่อน และให้เริ่มเสิร์ฟลูกบอลภายใน 5 วินาที

          -  ทีมที่ได้คะแนนจะเป็นผู้ได้เสิร์ฟ จนกว่าจะเสียคะแนนให้ฝ่ายตรงข้ามจึงจะเปลี่ยนเสิร์ฟ

          -  เมื่อลูกเข้ามาในเขตแดนของทีม จะสามารถเล่นบอลได้มากที่สุด 3 ครั้งเท่านั้น

          -  สามารถบล็อคลูกบอลจากฝ่ายตรงข้ามที่หน้าตาข่ายได้ แต่หากผู้เล่นล้ำเข้าไปในแดนของฝ่ายตรงข้ามจะถือว่าฟาวล์

          -  สามารถขอเวลานอกได้ 2 ครั้งต่อ 1 เซต ให้เวลาครั้งละ 30 วินาที

          -  ทุกครั้งที่แข่งขันจบ 1 เซต จะต้องมีการเปลี่ยนฝั่ง

การคิดคะแนน

          -  ทีมจะได้คะแนนเมื่อลูกบอลตกลงในเขตสนามของฝ่ายตรงข้าม โดยนับเป็นลูกละ 1 คะแนน และหากมีการเสียคะแนน จะต้องเปลี่ยนให้ทีมที่ได้คะแนนเป็นผู้เสิร์ฟ

          -  หากทีมไหนได้คะแนนครบ 25 คะแนนก่อน ก็จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นไป แต่หากคะแนนเสมอกันที่ 24-24 จะต้องมีการดิวซ์ (Deuce) หมายถึงต้องทำคะแนนให้มากกว่าอีกฝ่าย 2 คะแนน ถึงจะเป็นผู้ชนะ เช่น 26-24 หรือ 27-25 เป็นต้น

          -  ต้องแข่งขันกันให้ชนะ 3 ใน 5 เซต จึงจะเป็นผู้ชนะในเกมนั้น

          และนี่คือข้อมูลคร่าว ๆ ของกีฬาวอลเลย์บอล เมื่อรู้จักกีฬาชนิดนี้กันแล้ว ก็อย่าลืมทำความเข้าใจกติกามารยาทในการแข่งขัน และเล่นกีฬากันอย่างมีน้ำใจนักกีฬากันด้วยนะจ๊ะ

วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

ทำไมครูต้องทำวิจัยในชั้นเรียน



ทำไมครูต้องทำวิจัยในชั้นเรียน

     ผู้เขียนขณะเขียนดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา เป็นแห่งที่  3 ได้ศึกษาวิเคราะห์ มองสถานศึกษา  (School  Swot  Anslysis)  พบเห็นจุดอ่อนและอุปสรรคของการพัฒนาการเรียนรู้สู่คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของ สพฐ. สมศ. และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  คือ  ครูทำวิจัยในชั้นเรียนไม่เป็น มักเกิดคำถามเสมอว่า  ทำไม หรือ จำเป็นเพียงใดที่ครูต้องทำวิจัยในชั้นเรียน จึงเกิดแรงดลใจที่ให้ต้องเขียนบทความทางวิชาการเรื่องนี้ขึ้น
         จากประเด็นข้อสงสัยที่ว่า  ทำไมครูต้องทำวิจัยในชั้นเรียน ผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูล
ที่เกี่ยวข้อง เพื่อตอบข้อสงสัยดังกล่าวแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดโรงเรียน ดังต่อไปนี้
         สาเหตุที่ครูต้องทำวิจัยในชั้นเรียน มีดังนี้
         1.  เพราะการวิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้การปฏิรูปการศึกษา โดยเฉพาะการจัด
การเรียนรู้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
         2.  เพราะการปฏิรูปการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัย เป็นแนวทางหนึ่งที่ครูผู้สอนและผู้บริหาร  สามารถนำไปปฏิรูปการเรียนรู้ในสถานศึกษาได้เป็นอย่างดี
         3.  เพราะ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542  แก้ไขเพิ่มเติม  พ.ศ. 2545  ได้ ให้ความสำคัญกับการวิจัยและได้กำหนดไว้หลายมาตราที่ชี้ให้เห็นว่าการวิจัย เป็นกระบวนการที่ควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการทำงานของผู้ที่ เกี่ยวข้องกับการศึกษา  ซึ่งเป็นกลไกที่จะนำไปสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและสังคมแห่งการเรียนรู้
         4.  เพราะ มาตรา 24 (5)  แห่ง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542  แก้ไขเพิ่มเติม  พ.ศ. 2545  ระบุให้ใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้  ผู้เรียนสามารถใช้การวิจัยเพื่อศึกษาเรื่องที่น่าสนใจและต้องการหาความรู้ใหม่หรือต้องการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น  การวิจัยจึงสัมพันธ์กับกระบวนการเรียนรู้  ซึ่งจะช่วยเหลือการฝึกในเรื่องต่อไปนี้
              1) ฝึกกระบวนการคิด
              2) ฝึกกระบวนการจัดการ
              3) ฝึกการหาเหตุผลในการตอบปัญหาหรือแก้ปัญหา
              4) ฝึกให้รู้จักประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
         5.  เพราะ มาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  แก้ไขเพิ่มเติม  พ.ศ. 2545  ระบุให้ผู้สอนทำการวิจัย  เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน  ครูผู้สอนนอกจากจะจัดกระบวนการเรียนรู้แล้ว  ยังสามารถใช้การวิจัยเพื่อศึกษาปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการรู้คำตอบ  เพื่อพัฒนาสิ่งที่ต้องการจะพัฒนาหรือแก้ปัญหาและศึกษาหรือพัฒนาสิ่งที่เป็นปัญหา หรือ ต้องการพัฒนาควบคู่กันไปอย่างต่อเนื่อง  โดยบูรณาการกระบวนการจัดการเรียนรู้   และการวิจัยให้เป็นกระบวนการเดียวกัน  สามารถมองเห็นปัญหา ระบุหรือรู้ปัญหาได้  รู้จักการวางแผนการวิจัยการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ  มีหลักฐานการได้มาซึ่งข้อค้นพบและมีเหตุผลอธิบายถึงข้อค้นพบได้
         6.  เพราะ  มาตรา 48 แห่ง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545  ระบุ ให้สถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกัน คุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่าง ต่อเนื่อง  ผู้บริหารจึงต้องวิจัยเชิงประเมินเกี่ยวกับสถานศึกษา  เพื่อให้ผลการวิจัยนั้นไปประกอบการตัดสินใจ  จัดทำนโยบายและในการพัฒนา  ในขณะเดียวกันผู้บริหารสามารถใช้การวิจัยเพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้นำในการสร้างภูมิปัญญาและการเรียนรู้ได้
         7.  เพราะการวิจัยเป็นกระบวนการค้นหาความรู้และแนวทางปฏิบัติที่นำไปสู่การปฏิรูปการเรียนรู้ที่เชื่อถือได้  สามารถนำผลการค้นพบมาแก้ไขการเรียนรู้หรือตัดสินใจพัฒนาการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
         8.  เพราะแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม (พ.ศ. 2545-2549)  ได้เน้นย้ำ มุ่งให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ที่สร้างโอกาสให้คนไทย
ทุกคน  คิดเป็น  ทำเป็น  มีเหตุผล  สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต รู้จักใช้ข้อมูลอย่างหลากหลาย  เพื่อสร้างสรรค์ความรู้และพัฒนาตนเอง ซึ่งจะให้เกิดคุณลักษณะดังกล่าวได้  ต้อง ฝึกให้รู้จักใช้กระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อถือได้และกระบวนการที่สร้างความ รู้ได้อย่างเป็นระบบ มีระเบียบ ก็คือการวิจัย ดังนั้นการวิจัยจึงเป็นแนวทางดำเนินการหนึ่งที่จะนำไปสู่การสร้างสังคมแห่ง ภูมิปัญญาและสังคมแห่งการเรียนรู้
         9.  เพราะเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานที่  9  ของ สมศ. ระบุให้ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้ เรียนเป็นสำคัญ โดยมีตัวบ่งชี้ที่ 7 ให้ครูมีการวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อและการเรียนรู้ของผู้เรียนและนำผลที่ได้ไป ใช้พัฒนาผู้เรียน
         10.  เพราะ ผลงานวิจัยที่ครูทำไว้  ซึ่ง ถ้าเป็นผลงานวิจัยที่ได้รับการพิมพ์เผยแพร่มาแล้วและผลงานดังกล่าวสามารถนำ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการจัดการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพการศึกษา อันเป็นผลงานทางวิชาการประเภทที่ 2  ที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  (ก.ค.ศ.) กำหนดไว้ให้ใช้เสนอเพื่อขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะที่สูงขึ้นตามลำดับ  อันเป็นประโยชน์ต่อความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการของครู
     11.  เพราะ ผลงานวิจัย  หมาย ถึง ผลงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบและมีความมุ่งหมายที่ชัดเจนแน่นอน เพื่อให้ได้มาซึ่งทฤษฎี หลักการ ปัญหา วิธีการแก้ปัญหา การรับรองหลักการ หรือการพิสูจน์ทฤษฎี  ซึ่งจะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ สามารถนำผลงานวิจัยไปพัฒนาหลักการหรือทฤษฏีให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น  หรือสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา  โดยอาจเป็นการวิจัยในเชิงทดลอง  เชิงสำรวจ หรือการวิจัยเชิงปฏิบัติการก็ได้  โดยมีลักษณะเป็นเอกสารที่มีรูปแบบของการวิจัยตามหลักวิชา
         จากสาเหตุ ทั้ง  11  ประการ  ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่า  ครู  เป็นหัวใจสำคัญยิ่งต่อ
การปฏิรูปการเรียนรู้  การพัฒนาครู  จึงเป็นภารกิจที่สำคัญประการหนึ่งของสถานศึกษาที่ต้องเร่งดำเนินการพัฒนา  โดยเฉพาะในเรื่อง  การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน  ดัง นั้นทั้งครูผู้บริหารและนักเรียนจึงต้องมีความตระหนักเห็นความสำคัญและเร่ง พัฒนาตนเองและทั้งคณะให้รู้จัก รู้จริงและรู้แจ้งในเรื่องการวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยเร็ว  อัน จะนำไปสู่การสร้างมนุษย์แห่งคุณภาพสู่สังคมภูมิปัญญาและสังคมการเรียนรู้ต่อ ไปและครูจึงต้องไม่ปฏิเสธการทำวิจัยให้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนรู้ และผู้บริหารใช้กระบวนการวิจัยเป็นกระบวนการหนึ่งสำหรับการบริหารจัดการ อย่างมืออาชีพที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และต้องทำอย่างจริงจัง..

หนังสืออ้างอิง

ศึกษา กระทรวง. เอกสารพัฒนาตนเองชุดการจัดทำข้อมูลสถานศึกษา การวิจัยเพื่อ
            พัฒนาการเรียนรู้ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพ ฯ : มปพ., 2546
ถวัลย์  มาศจริส. คู่มือการจัดทำผลงานทางวิชาการ. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์อักษร,2550
เจริญ  ยางเสน.  แนวทางการจัดทำผลงานวิชาการ. กรุงเทพ ฯ : มปพ., 2545.
สมศ. รายงานการประเมินคุณภาพภายนอก โรงเรียนพุทโธภาวนาประชาสรรค์ .มปพ. ,
     2547
สมศ.  พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542. กรุงเทพ ฯ  : บริษัทพริกหวานกราฟฟิค,2542

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

การจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน



 การจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน
การจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เป็น กระบวนการที่ผู้สอนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองตามความต้องการ ความสนใจและความสามารถจากศูนย์การเรียนที่ผู้สอนได้จัดเตรียมเนื้อหาสาระ กิจกรรมและสื่อการสอนแบบประสม โดยปกติศูนย์การเรียนจะมีหลายศูนย์  แต่ละศูนย์จะมีเนื้อหาสาระและกิจกรรมเบ็ดเสร็จในตัวเอง ผู้เรียนจะหมุนเวียนกันเข้าศึกษาหาความรู้จากศูนย์ต่าง ๆ ที่จัดเตรียมไว้อย่างหลากหลายจนครบทุกศูนย์ ผู้เรียนจะต้องประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่โปรแกรมได้กำหนดเอาไว้ภายใต้การดูแลของผู้สอน
ซึ่งผู้สอนจะทำหน้าที่เป็นผู้จัดเตรียมศูนย์การเรียน ให้คำแนะนำ อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ พร้อมทั้งประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วย

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนแบ่งออกเป็น
4 ขั้นตอนดังนี้

1.   ขั้นเตรียมการ
      เตรียมผู้สอน ก่อน จะทำการสอนทุกครั้งผู้สอนจะต้องศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ในคู่มือการสอน เริ่มตั้งแต่จุดประสงค์การเรียนรู้ การนำเข้าสู่บทเรียน การแบ่งกลุ่มผู้เรียน ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละศูนย์ /กลุ่ม / ฐานการเรียนรู้ เนื้อหาวิชาที่จะสอน วิธีการใช้สื่อต่าง ๆ ประกอบการสอน วิธีการวัดประเมินผล จนถึงการสรุปบทเรียน
เตรียมวัสดุอุปกรณ์  ผู้ สอนต้องเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในแต่ละศูนย์ / กลุ่ม /ฐานการเรียนรู้ว่ามีจำนวนเพียงพอและอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดีหรือไม่ เช่น ใบงาน เอกสารเนื้อหาสาระ (Fact sheets ) บัตรกิจกรรม อุปกรณ์การฝึกทดลองประเภทต่าง ๆ แบบประเมินผล เป็นต้น
เตรียมสถานที่  สร้าง สิ่งแวดล้อมที่สะดวกสบาย อบอุ่น สะอาด บรรยากาศดีเพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขกับการเรียนรู้เป็นลำดับแรก หลังจากนั้นจัดเตรียมโต๊ะ เก้าอี้ เป็นลักษณะกลุ่มย่อยตามเนื้อหาที่จะสอน ให้เพียงพอกับจำนวนคนและกิจกรรมที่จะต้องทำ เช่น จัดโต๊ะเป็นกลุ่ม ๆ ละ 8 คน
แต่ละกลุ่มวางป้ายชื่อเรื่องที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้ให้ชัดเจน

 2.    ขั้นสอน
สร้างกติกาการเรียนรู้ร่วมกัน ผู้ สอนชี้แจงกระบวนการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนและสร้างกติกาหรือข้อตกลงร่วม กัน เช่น การรักษาเวลาในการเรียนรู้แต่ละศูนย์ การทำงานเป็นทีม ความรับผิดชอบในการทำกิจกรรม เป็นต้น
ทดสอบก่อนเรียน  พร้อมบอกผลการสอบเพื่อให้ทุกคนทราบความรู้พื้นฐานของตนเอง
นำเข้าสู่บทเรียน   ผู้ สอนใช้กิจกรรมหรือวิธีการที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและเหมาะสมกับผู้ เรียน ต่อจากนั้นอาจอธิบายเนื้อหาสาระและวิธีการที่จะเรียนพอสังเขป
แบ่งกลุ่มผู้เรียน    ผู้สอนแบ่งกลุ่มผู้เรียนตามจำนวนศูนย์ /กลุ่ม / ฐานการเรียนรู้  และควรแบ่งแบบคละกันตามความสามารถ ความสนใจ เพศ วัย เพื่อให้แต่ละกลุ่มร่วมด้วยช่วยกันเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
ดำเนินกิจกรรม   ให้ผู้เรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ ครบในทุกศูนย์ /กลุ่ม / ฐานการเรียนรู้กำหนด
3.   ขั้นสรุปบทเรียน
หลังจากที่ผู้เรียนหมุนเวียนกันทำกิจกรรมครบศูนย์ / กลุ่ม / ฐานการเรียนรู้แล้ว ผู้สอนตั้งคำถามให้ผู้เรียนสะท้อนความรู้สึกและบทเรียน ที่ได้รับ  ผู้สอนทำหน้าที่สรุปบทเรียนทั้งหมดร่วมกับผู้เรียน
4.   ขั้นประเมินผล
เมื่อสรุปบทเรียนแล้วให้ผู้เรียนทำการทดสอบหลังเรียน พร้อมทั้งแจ้งผลการทดสอบให้ทุกคนทราบพัฒนาการของตนเองเมื่อเปรียบเทียบกับผล การทดสอบก่อนเรียน

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

           นักวิชาการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึงความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการไว้ดังตัวอย่างต่อไปนี้
           ลาร์ดิซาบอล (Lardizabal) กล่าวว่า การเรียนการสอนแบบบูรณาการ หมายถึง การสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง ยังผลให้เกิดการพัฒนาในด้านบุคลิกภาพในทุก ๆ ด้าน ผู้เรียนสามารถปรับตัวและตอบสนองต่อทุกสถานการณ์ การแก้ปัญหานี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความรู้พื้นฐาน การสอนแบบบูรณาการจะให้ความสำคัญกับครูและนักเรียนเท่าเทียมกัน ทำกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกันแบบประชาธิปไตย

รูปแบบที่ 1 รูปแบบการเรียนการสอนทางตรง (Direct Instruction Model)
ก. ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
      จอยส์ และวีล (Joyce and Weil, 1996: 334) (อ้างถึงใน ทิศนา แขมมณี, 2546 : 51) อ้างว่า มีงานวิจัยจำนวนไม่น้อยที่ชี้ให้เห็นว่า การสอนโดยมุ่งเน้นการให้ความรู้ที่ลึกซึ้งช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกว่ามีบทบาทในการเรียนทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจในการเรียนรู้และช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียน การเรียนการสอนโดยจัดสาระและวิธีการให้ผู้เรียนอย่างดีทั้งทางด้านเนื้อหา ความรู้ และการให้ผู้เรียนใช้เวลาเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ (academic learning) เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนมากที่สุด ผู้เรียนมีใจจดจ่อกับสิ่งที่เรียน และช่วยให้ผู้เรียนถึง 80% ประสบความสำเร็จในการเรียน นอกจากนั้นยังพบว่า บรรยากาศการเรียนที่ไม่ปลอดภัย
สำหรับผู้เรียน สามารถสกัดกั้นความสำเร็จของผู้เรียนได้ ดังนั้น ผู้สอนจึงจำเป็นต้องระมัดระวัง ไม่ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกในทางลบ เช่น การดุด่าว่ากล่าว การแสดงความไม่พอใจ หรือวิพากษ์วิจารณ์ผู้เรียน
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
       รูปแบบการเรียนการสอนนี้มุ่งช่วยให้ได้เรียนรู้ทั้งเนื้อหา สาระ และมโนทัศน์ต่าง ๆ รวมทั้งได้ฝึก
ปฏิบัติทักษะต่าง ๆ จนสามารถทำได้ดีและประสพผลสำเร็จได้ในเวลาที่จำกัด
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
        การเรียนการสอนของรูปแบบนี้ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ ๆ 5 ขั้น ดังนี้

ขั้นที่ 1 ขั้นนำ
1.1 ผู้สอนแจ้งวัตถุประสงค์ของบทเรียน และระดับการเรียนรู้หรือพฤติกรรมการเรียนรู้ที่คาด
หวังแก่ผู้เรียน
1.2 ผู้สอนชี้แจงสาระของบทเรียน และความสัมพันธ์กับความรู้และประสบการณ์เดิมของผู้
เรียนอย่างคร่าว ๆ
1.3 ผู้สอนชี้แจงกระบวนการเรียนรู้ และหน้าที่รับผิดชอบของผู้เรียนในการเรียนแต่ละขั้นตอน
ขั้นที่ 2 ขั้นนำเสนอบทเรียน
2.1 หากเป็นการนำเสนอเนื้อหาสาระ ข้อความรู้หรือมโนทัศน์ ผู้สอนควรกลั่นกรองและสกัด
คุณสมบัติเฉพาะของมโนทัศน์เหล่านั้น และนำเสนออย่างชัดเจน พร้อมทั้งอธิบายและยกตัวอย่างประกอบให้ผู้
เรียนเข้าใจ ต่อไปจึงสรุปคำนิยามของมโนทัศน์เหล่านั้น
2.2 ตรวจสอบว่าผู้เรียนมีความเข้าใจตรงตามวัตถุประสงค์ ก่อนให้ผู้เรียนลงมือฝึกปฏิบัติ หาก
ผู้เรียนยังไม่เข้าใจ ต้องสอนซ่อมเสริมให้เข้าใจก่อน

ขั้นที่ 3 ขั้นฝึกปฏิบัติตามแบบ (structured practice)

ผู้สอนปฏิบัติให้ผู้เรียนดูเป็นตัวอย่าง ผู้เรียนปฏิบัติตาม ผู้สอนให้ข้อมูลป้อนกลับให้การเสริม
แรงหรือแก้ไขข้อผิดพลาดของผู้เรียน
ขั้นที่ 4 ขั้นฝึกปฏิบัติภายใต้การกำกับของผู้ชี้แนะ (guided practice)
ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยผู้สอนคอยดูแลอยู่ห่าง ๆ ผู้สอนจะสามารถประเมินการเรียน
รู้และความสามารถของผู้เรียนได้จากความสำเร็จและความผิดพลาดของการปฏิบัติของผู้เรียน และช่วยเหลือผู้
เรียน โดยให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียน แก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ
ขั้นที่ 5 การฝึกปฏิบัติอย่างอิสระ (independent practice)
หลังจากที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติตามขั้นที่ 4 ได้ถูกต้องประมาณ 85-90% แล้ว ผู้สอนควร
ปล่อยให้ผู้เรียนปฏิบัติต่อไปอย่างอิสระ เพื่อช่วยให้เกิดความชำนาญ และการเรียนรู้อยู่คงทน ผู้สอนไม่จำเป็น
ต้องให้ข้อมูลป้อนกลับในทันที สามารถให้ภายหลังได้ การฝึกในขั้นนี้ไม่ควรทำติดต่อกันในครั้งเดียว ควรมี
การฝึกเป็นระยะ ๆ เพื่อช่วยให้การเรียนรู้อยู่คงทนขึ้น
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
การเรียนการสอนแบบนี้ เป็นไปตามลำดับขั้นตอน ตรงไปตรงมา ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งทางด้านพุทธิ
พิสัย และทักษะพิสัยได้เร็วและได้มากในเวลาที่จำกัด ไม่สับสน ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติตามความสามารถของตน
จนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ ทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเรียน และมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
รูปแบบที่ 2 รูปแบบการเรียนการสอนโดยการสร้างเรื่อง (Storyline Method)
ก. ทฤษฎี/หลักการ/หรือแนวคิดของรูปแบบ
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสร้างเรื่อง (Storyline Approach) พัฒนาขึ้นโดย ดร.สตีฟ เบ็ล
และแซลลี่ ฮาร์คเนส (Steve Bell and Sally Harkness) จากสก๊อตแลนด์ เขามีความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ว่า
(อรทัย มูลดำ และคณะ, 2541: 34-35)
1) การเรียนรู้ที่ดีควรมีลักษณะบูรณาการ หรือเป็นสหวิทยากร คือเป็นการเรียนรู้ที่ผสมผสานศาสตร์
หลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกันเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดในการประยุกต์ใช้ในการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวัน
2) การเรียนรู้ที่ดีเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นผ่านทางประสบการณ์ตรงหรือการกระทำหรือการมีส่วนร่วม
ของผู้เรียนเอง
3) ความคงทนของผลการเรียนรู้ ขึ้นอยู่กับวิธีการเรียนรู้หรือวิธีการที่ได้ความรู้มา
4) ผู้เรียนสามารถเรียนรู้คุณค่าและสร้างผลงานที่ดีได้หากมีโอกาสได้ลงมือกระทำ
ฝ่ายวิชาการ : งานพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา............................................................................................... หน้าที่ 11 / 26
นอกจากความเชื่อดังกล่าวแล้ว การเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสร้างเรื่องนี้ยังใช้หลักการเรียนรู้และการ
สอนอีกหลายประการ เช่น การเรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวไปสู่วิถีชีวิตจริง การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และการ
เรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
จากฐานความเชื่อและหลักการดังกล่าว สตีฟ เบ็ล (ศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาและโลกศึกษา คณะครุ
ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542: 4) ได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่มีลักษณะบูรณาการเนื้อหา
หลักสูตรและทักษะการเรียนจากหลายสาขาวิชาเข้าด้วยกัน โดยให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์เรื่องขึ้นด้วยตนเอง โดย
ผู้สอนทำหน้าที่วางเส้นทาง เดินเรื่องให้โดยการดำเนินเรื่องแบ่งเป็นตอน ๆ (episode) แต่ละตอนประกอบด้วย
กิจกรรมย่อยที่เชื่อมโยงกันด้วยคำถามหลัก (key question) ลักษณะของคำถามหลักที่เชื่อมโยงเรื่องราวให้
ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องมี 4 คำถามได้แก่ ที่ไหน ใคร ทำอะไร/อย่างไร และมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น ผู้สอนจะ
ใช้คำถามหลักเหล่านี้เปิดประเด็นให้ผู้เรียนคิดร้อยเรียงเรื่องราวด้วยตนเอง รวมทั้งสร้างสรรค์ชิ้นงานประกอบกัน
ไป การเรียนการสอนด้วยวิธีการดังกล่าวจึงช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ใช้ประสบการณ์และความคิดของตนอย่าง
เต็มที่และมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดกัน อภิปรายร่วมกัน และเกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อช่วยพัฒนาความรู้ ความเข้าใจและเจตคติของผู้เรียนในเรื่องที่เรียน รวมทั้งทักษะกระบวนการต่าง ๆ
เช่น ทักษะการคิด ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการสื่อสาร เป็นต้น
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
การเรียนการสอนตามรูปแบบนี้จำเป็นต้องมีการวางแผนและจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ล่วงหน้า โดยดำเนิน
การดังนี้
ขั้นที่ 1 การกำหนดเส้นทางเดินเรื่องให้เหมาะสม
ผู้สอนจำเป็นต้องวิเคราะห์จุดมุ่งหมายและเนื้อหาสาระของหลักสูตร และเลือกหัวข้อเรื่องให้
สอดคล้องกับเนื้อหาสาระของหลักสูตรที่ต้องการจะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และจัดแผนการสอนในรายละเอียดเส้น
ทางเดินเรื่อง ประกอบด้วย 4 องค์ (episode) หรือ 4 ตอนด้วยกัน คือ ฉาก ตัวละคร วิถีชีวิตและเหตุการณ์
ในแต่ละองค์ ผู้สอนจะต้องกำหนดประเด็นหลักขึ้นมาแล้วตั้งเป็นคำถามทำให้ผู้เรียนศึกษาหาคำตอบ ซึ่งคำถามเหล่านี้จะโยงไปยังคำตอบที่สัมพันธ์กับเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่ประสงค์จะบูรณาการเข้าด้วยกัน ดังแสดงตัวอย่างเส้น
ทางเดินเรื่อง และตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไว้
พานิช, 2543: 29-41)
ขั้นที่ 2 การดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน
ผู้สอนดำเนินการตามแผนการสอนไปตามลำดับการเรียนการสอนแบบนี้ อาจใช้เวลาเพียงไม่กี่
คาบ หรือต่อเนื่องกันเป็นภาคเรียนก็ได้ แล้วแต่หัวเรื่องและการบูรณาการว่าสามารถทำได้ครอบคลุมเพียงใดแต่ไม่ควรใช้เวลาเกิน 1 ภาคเรียน เพราะผู้เรียนอาจเกิดความเบื่อหน่าย ในการเริ่มกิจกรรมใหม่ ผู้สอนควรเชื่อมโยงกับเรื่องที่ค้างไว้เดิมให้สานต่อกันเสมอ และควรให้ผู้เรียนสรุปความคิดรวบยอดของแต่ละกิจกรรม ก่อนจะขึ้นกิจกรรมใหม่ นอกจากนั้นควรกระตุ้นให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้ผู้เรียนชื่นชมผลงานของกันและกัน และได้ปรับปรุงพัฒนางานของตน
ขั้นที่ 3 การประเมิน
ผู้สอนใช้การประเมินผลตามสภาพที่แท้จริง (authentic assessment) คือการประเมินจากการ
สังเกต การบันทึก และการรวบรวมข้อมูลจากผลงานและการแสดงออกของผู้เรียน การประเมินจะไม่เน้น
เฉพาะทักษะพื้นฐานเท่านั้น แต่จะรวมถึงทักษะการคิด การทำงาน การร่วมมือ การแก้ปัญหา และอื่น ๆ การประเมินให้ความสำคัญในการประสบผลสำเร็จในการทำงานของผู้เรียนแต่ละคน มากกว่าการประเมินผลการเรียนที่มุ่งให้คะแนนผลผลิต และจัดลับที่เปรียบเทียบกับกลุ่ม
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนรู้ตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะเกิดความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องที่เรียน ในระดับที่สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ได้ รวมทั้ง
ได้พัฒนาทักษะกระบวนการต่าง ๆ
รูปแบบที่ 4 รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Instructional Models of CooperativeLearning)
ก. ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ พัฒนาขึ้นโดยอาศัยหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ของจอห์นสัน และจอห์นสัน (Johnson & Johnson. 1974: 213-240) ซึ่งได้ชี้ให้เห็นว่า ผู้เรียนควรร่วมมือกันในการเรียนรู้มากกว่าการแข่งขัน เพราะการแข่งขันก่อให้เกิดสภาพการณ์ของการแพ้-ชนะ ต่างจากการร่วมมือกันซึ่งก่อให้เกิดสภาพการณ์ของการชนะ-ชนะ อันเป็นสภาพการณ์ที่ดีกว่าทั้งทางด้านจิตใจและสติปัญญา หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ 5 ประการประกอบด้วย (1) การเรียนรู้ต้องอาศัยหลักการพึ่งพากันโดยถือว่าทุกคนมีความสำคัญเท่าเทียมกันและจะต้องพึ่งพากัน เพื่อความสำเร็จร่วมกัน (2)การเรียนรู้ที่ดีต้องอาศัยการหันหน้าเข้าหากัน มีปฏิสัมพันธ์กัน (face to face interaction) เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อมูล และการเรียนรู้ต่าง ๆ (3) การเรียนรู้ร่วมกันต้องอาศัยทักษะทางสังคม (social skills) โดยเฉพาะทักษะในการทำงานร่วมกัน และ (4) การเรียนรู้ร่วมกันควรมีการวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม (group processing)ที่ใช้ในการทำงาน และ (5) การเรียนรู้ร่วมกันจะต้องมีผลงาน หรือผลสัมฤทธิ์ ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ที่สามารถตรวจสอบและวัดประเมินได้ (individual accountability) หากผู้เรียนมีโอกาสได้เรียนรู้แบบร่วมมือกันนอกจากจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทางด้านเนื้อหาสาระต่าง ๆ ได้กว้างขึ้นและลึกซึ้งขึ้นแล้ว ยังสามารถช่วยพัฒนาผู้เรียนทางด้านสังคมและอารมณ์มากขึ้นด้วย รวมทั้งมีโอกาสได้ฝึกฝนพัฒนาทักษะกระบวนการต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตอีกมาก
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาสาระต่าง ๆ ด้วยตนเองและด้วยความร่วมมือและความช่วย
เหลือจากเพื่อน ๆ รวมทั้งได้พัฒนาทักษะทางสังคมต่าง ๆ เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นทักษะการสร้างความสัมพันธ์รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ ทักษะการคิดการแก้ปัญหาและอื่น ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีหลายรูปแบบซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีวิธีการ
ดำเนินการหลัก ๆ ซึ่งได้แก่ การจัดกลุ่ม การศึกษาเนื้อหาสาระ การทดสอบ การติดคะแนน และระบบการให้รางวัลแตกต่างกันออกไป เพื่อสนองวัตถุประสงค์เฉพาะ แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดต่างก็ใช้หลักการเดียวกันคือหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ 5 ประการ และมีวัตถุประสงค์มุ่งตรงไปในทิศทางเดียวกัน คือเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเรื่องที่ศึกษาอย่างมากที่สุดโดยอาศัยการร่วมมือกัน ช่วยเหลือกัน และแลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างกลุ่มผู้เรียนด้วยกัน ความแตกต่างของรูปแบบแต่ละรูปแบบจะอยู่ที่เทคนิคในการศึกษาเนื้อหาสาระ และวิธีการเสริมแรงและการให้รางวัล เป็นประการสำคัญ

วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

การเรียนรู้ทางด้านทักษะปฏิบัติ



                  แฮร์โรว์ (Harrow. 1972: 96-99) ได้จัดลำดับขั้นของการเรียนรู้ทางด้านทักษะปฏิบัติ โดยเริ่มจากระดับที่ซับซ้อนน้อยไปจนถึงระดับที่มีความซับซ้อนมาก  ซึ่งกระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบมีทั้งหมด 5 ขั้น คือ
1. ขั้นการเลียน แบบ  เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนสังเกตการกระทำที่ต้องการให้ผู้เรียนทำได้ซึ่งผู้ เรียนย่อมจะรับรู้หรือสังเกตเห็นรายละเอียดต่าง ๆ ได้ไม่ครบถ้วน  แต่อย่างน้อยผู้เรียนจะสามารถบอกได้ว่า  ขั้นตอนหลักของการกระทำนั้น ๆ มีอะไรบ้าง
2. ขั้นการลงมือกระทำตามคำสั่ง  เมื่อผู้เรียนได้เห็นและสามารถบอกขั้นตอนของการกระทำที่ต้องการเรียนรู้ แล้ว  ให้ผู้เรียนลงมือทำโดยไม่มีแบบอย่างให้เห็น  ผู้เรียนอาจลงมือทำตามคำสั่งของผู้สอน  หรือทำตามคำสั่งที่ผู้สอนเขียนไว้ในคู่มือก็ได้  การลงมือปฏิบัติตามคำสั่งนี้  แม้ผู้เรียนจะยังไม่สามารถทำได้อย่างสมบูรณ์  แต่อย่างน้อยผู้เรียนก็ได้ประสบการณ์ในการลงมือทำ  และค้นพบปัญหาต่าง ๆ ซึ่งช่วยให้เกิดการเรียนรู้  และการปรับการกระทำให้ถูกต้องสมบูรณ์ขึ้น
3. ขั้น การกระทำอย่างถูกต้องสมบูรณ์ (Precision) ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะต้องฝึกฝนจนสามารถทำสิ่งนั้น ๆ ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์  โดยไม่จำเป็นต้องมีแบบอย่างหรือมีคำสั่งนำทางการกระทำ  การกระทำที่ถูกต้องแม่นยำตรง  พอดี  สมบูรณ์แบบ  เป็นสิ่งที่ผู้เรียนจะต้องสามารถทำได้ในขั้นนี้
4. ขั้นการแสดงออก (Articulation) ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนมีโอกาสได้ฝึกฝนมากขึ้น  จนกระทั่งสามารถกระทำสิ่งนั้นได้ถูกต้องสมบูรณ์แบบอย่างคล่องแคล่ว  รวดเร็ว  ราบรื่น  และด้วยความมั่นใจ
5. ขั้นการกระทำอย่างเป็นธรรมชาติ (Naturalization) ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถกระทำสิ่งนั้น ๆ อย่างสบาย เป็นไปอย่างอัตโนมัติ  โดยไม่รู้สึกว่าต้องใช้ความพยายามเป็นพิเศษ  ซึ่งต้องอาศัยการปฏิบัติบ่อย ๆ ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่หลากหลาย
                    เดวีส์ (Davies. 1971: 50-56) ได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะปฏิบัติไว้ว่า  ทักษะส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยทักษะย่อย ๆ จำนวนมาก  การฝึกให้ผู้เรียนสามารถทำทักษะย่อย ๆ เหล่านั้นได้ก่อนแล้วค่อยเชื่อมโยงต่อกันเป็นทักษะใหญ่  จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จได้ดีและรวดเร็วขึ้น  ซึ่งกระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบมีทั้งหมด 5 ขั้น คือ
1. ขั้นสาธิต ทักษะหรือการกระทำ  ขั้นนี้เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนได้เห็นทักษะหรือการกระทำที่ต้องการให้ผู้ เรียนทำได้ในภาพรวม  โดยการสาธิตให้ผู้เรียนดูทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ  ทักษะหรือการกระทำที่สาธิตให้ผู้เรียนดูนั้น  จะต้องเป็นการกระทำในลักษณะที่เป็นธรรมชาติ  ไม่ช้าหรือเร็วเกินปกติ  ก่อนการสาธิต  ครูควรให้คำแนะนำแก่ผู้เรียนในการสังเกต  ควรชี้แนะจุดสำคัญที่ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษในการสังเกต
2. ขั้นสาธิต และให้ผู้เรียนปฏิบัติทักษะย่อย  เมื่อผู้เรียนได้เห็นภาพรวมของการกระทำหรือทักษะทั้งหมดแล้ว  ผู้สอนควรจะแตกทักษะทั้งหมดให้เป็นทักษะย่อย ๆ หรือแบ่งสิ่งที่กระทำออกเป็นส่วนย่อย ๆ และสาธิตส่วนย่อยแต่ละส่วนให้ผู้เรียนสังเกตและทำตามไปทีละส่วนอย่างช้า ๆ
3. ขั้น ให้ผู้เรียนปฏิบัติทักษะย่อย  ผู้เรียนลงมือปฏิบัติทักษะย่อยโดยไม่มีการสาธิตหรือมีแบบอย่างให้ดู  หากติดขัดจุดใด  ผู้สอนควรให้คำชี้แนะ  และช่วยแก้ไขจนผู้เรียนทำได้  เมื่อได้แล้วผู้สอนจึงเริ่มสาธิตทักษะย่อยส่วนต่อไป  และให้ผู้เรียนปฏิบัติทักษะย่อยนั้นจนทำได้  ทำเช่นนี้เรื่อยไปจนกระทั่งครบทุกส่วน
4. ขั้นให้เทคนิควิธีการ  เมื่อผู้เรียนปฏิบัติได้แล้ว  ผู้สอนอาจแนะนำเทคนิควิธีการที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถทำงานนั้นได้ดีขึ้น เช่น ทำได้ประณีตสวยงามขึ้นทำได้รวดเร็วขึ้น  ทำได้ง่ายขึ้น  หรือสิ้นเปลืองน้อยลง เป็นต้น
5. ขั้นให้ผู้เรียนเชื่อมโยงทักษะย่อย ๆ เป็นทักษะที่สมบูรณ์  เมื่อผู้เรียนสามารถปฏิบัติแต่ละส่วนได้แล้ว  จึงให้ผู้เรียนปฏิบัติทักษะย่อย ๆ ต่อเนื่องกันตั้งแต่ต้นจนจบ  และฝึกปฏิบัติหลาย ๆ ครั้งจนกระทั่งสามารถปฏิบัติทักษะที่สมบูรณ์ได้อย่างที่ชำนาญ


                       ฟิททส์ (Fitts. 1964) ได้ให้ข้อแนะนำการพัฒนาทักษะการกระทำที่ชำนาญจะเกิดขึ้นภายใต้ขั้นตอนการพัฒนาทักษะไว้ 3 ขั้นตอน คือ
1. ขั้น ความรู้ความเข้าใจ (The Cognitive Phase)  เป็นขั้นตอนที่จะบอกถึงทักษะและความรู้ทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งผู้สอนควรให้ข้อมูลแก่ผู้เรียนในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ต้องทำอะไรบ้าง  ต้องดูและหลีกเลี่ยงในเรื่องอะไรบ้าง  กระบวนการที่ต้องทำงาน  อะไรที่จำเป็นที่ต้องรู้  ต้องระมัดระวังอะไรบ้าง  และระดับมาตรฐานที่ต้องการ  ผู้เรียนควรจะให้ความสนใจเป็นพิเศษในด้านการวิเคราะห์ข้อผิดพลาดต่าง ๆ ขั้นความรู้ความเข้าใจนี้ควรจะกระทำในช่วงเวลาสั้น ๆ
2. ขั้นปฏิบัติ (The Associative Phase)  เป็นการกระทำการเพื่อให้ได้พฤติกรรมในรูปแบบที่ถูกต้อง  ทักษะจะเกิดขึ้นได้เมื่อได้ลงมือปฏิบัติการ  ข้อผิดพลาดหรือพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องควรได้รับการจำกัด  ขั้นปฏิบัติการนี้ผู้สอนควรจัดให้ผู้เรียนในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การสาธิตทักษะที่จะฝึก  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลียนแบบทักษะ  ฝึกหัดทักษะนั้นด้วยสถานการณ์จริงและสถานการณ์จำลอง  ให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับผลของทักษะ  และให้คำแนะนำและช่วยเหลือตามความจำเป็น   ขั้นตอนนี้ควรจะเริ่มต้นต่อจากขั้นความรู้ความเข้าใจ  และควรกระทำติดต่อไปเป็นระยะ
3. ขั้นชำนาญ (The Autonomous Phase) เป็นขั้นที่ปฏิบัติทักษะนั้นรวดเร็วและถูกต้อง  ตลอดจนโอกาสจะกระทำผิดก็จะไม่เกิดขึ้น  ทักษะที่เกิดขึ้นเป็นการเพิ่มพูนความชำนาญเป็นอัตโนมัติมากขึ้น  ในขั้นนี้เราเรียกว่าขั้นผู้เชี่ยวชาญ  ซึ่งต้องใช้การปฏิบัติมาก ๆ การฝึกทักษะในขั้นนี้ถือว่าได้บรรลุถึงขั้นสุดท้ายของระดับ Taxonomy ในทักษะพิสัย  ซึ่งในขั้นนี้ผู้สอนควรจัดให้ผู้เรียนได้กระทำในด้านต่าง ๆ ได้แก่  การฝึกทักษะจนถึงระดับเกินพอ  เรียนรู้วิธีการเอาชนะความเครียดและการสอดแทรกต่าง ๆ  เพิ่มพูนความเร็วและความถูกต้อง  และบรรลุถึงประสบการณ์ในระดับมาตรฐานที่ต้องการ  ในขั้นนี้ผู้เรียนแต่ละคนอาจจะแสดงผลสำเร็จที่แตกต่างกัน  ซึ่งความแตกต่างกันนี้มักจะขึ้นอยู่กับ  ความสามารถ  ความสนใจ  นิสัย  อารมณ์  และความขยันหมั่นเพียรของผู้เรียน 
ดี  เชคโค (De Cecco. 1974: 272-279) ได้เสนอขั้นตอนการสอนเพื่อให้เกิดทักษะไว้5 ขั้นตอน ดังนี้
1. วิเคราะห์ ทักษะที่จะสอน  เป็นขั้นแรกของการสอนทักษะ  โดยที่ผู้สอนจะต้องวิเคราะห์งานที่จะให้ผู้เรียนปฏิบัติก่อนว่า  งานนั้นประกอบด้วยทักษะย่อยอะไรบ้าง
2. ประเมินความสามารถเบื้องต้นของ ผู้เรียน  ว่าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถพื้นฐานเพียงพอที่จะเรียนทักษะใหม่หรือไม่  ถ้ายังขาดความรู้ความสามารถที่จำเป็นต่อการเรียนทักษะนั้นก็ต้องเรียนเสริม ให้มีพื้นฐานความรู้เพียงพอเสียก่อน
3. จัดขั้นตอนการฝึกให้เป็นไปตาม ลำดับขั้นจากง่ายไปยาก  จากทักษะพื้นฐานไปสู่ทักษะที่มีความสลับซับซ้อน  จัดให้มีการฝึกทักษะย่อยเสียก่อน  แล้วฝึกรวมทั้งหมด
4. สาธิตและอธิบาย แนะนำ  เป็นขั้นให้ผู้เรียนได้เห็นลำดับขั้นตอนการปฏิบัติจากตัวอย่างที่ผู้สอน สาธิตให้ดู  หรือจากภาพยนตร์  จากวีดิทัศน์  ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเห็นรายละเอียดการปฏิบัติในขั้นตอนต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน 
5. จัดให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง  โดยคำนึงถึงหลักการต่อไปนี้
5.1  ความต่อเนื่อง จัดให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติทักษะที่เรียนตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องกัน
5.2  การฝึกหัด  ให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะ  เน้นทักษะย่อยที่สำคัญ  ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องในส่วนที่ผิด  ในการฝึกนี้ต้องจัดแบ่งเวลาฝึก  เวลาพักให้เหมาะสม
5.3  การให้แรงเสริม  โดยให้ผู้เรียนได้รู้ผลของการฝึกปฏิบัติ (Feedback)  ซึ่งมี 2 ทาง  คือ การรู้ผลจากภายนอก (Extrinsic Feedback) คือ จากคำบอกกล่าวของครูว่าดีหรือบกพร่องอย่างไร  ควรแก้ไขอย่างไร  พอผู้เรียนเกิดความก้าวหน้าไปถึงขั้นที่จะเพิ่มพูนความชำนาญ  เขาจะรู้ได้โดยการสังเกตด้วยตนเอง  เป็นการรู้ผลจากภายในตนเอง (Intrinsic Feedback)
                        วูดรัฟฟ์ (Woodruff. 1961) และ  จอยส์ และวีล (Joyce; & Weil. 1972) ได้กล่าวถึง องค์ประกอบที่ควรมีในกระบวนการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติ  ดังนี้
1. มีชิ้นงานต้นแบบ
2. อธิบายขั้นตอนการปฏิบัติอย่างละเอียดและชัดเจน
3. การสาธิต การปฏิบัติงานอย่างละเอียดและชัดเจน
4. การสาธิต การทำงานซ้ำอีกครั้งตั้งแต่ต้นจนจบ
5. การแสดงการปฏิบัติแต่ละขั้นตอนอย่างง่าย ๆ และทำให้ดูอย่างช้า ๆ
6. การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือทำเอง  ตั้งแต่ต้นจนจบในสายตาครูและครูเป็นพี่เลี้ยง
7. การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทำงานเองตามลำพัง  แล้วนำผลงานที่ทำได้มาตรวจสอบกับชิ้นงานต้นแบบ
                         สุชาติ  ศิริสุขไพบูลย์ (2526: 39-40) ได้กล่าวว่า  การสอนทักษะปฏิบัติก็ย่อมต้องมีขั้นตอนตามขั้นตอนการเรียนรู้เช่นกัน  ขั้นตอนในการสอนทักษะปฏิบัติควรปฏิบัติตามลำดับขั้นตอน 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นการกล่าวนำ (Introduction)  ในขั้นตอนนี้  เป็นขั้นตอนเริ่มต้นของขบวนการเรียนรู้  กระทำเพื่อ
        - ให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียน
       - ทดสอบพื้นความรู้เดิมของผู้เรียน
       - สร้างความสนใจ  สร้างปัญหา  สร้างแรงจูงใจ
        - จัดตำแหน่งของผู้เรียนให้เหมาะสม  ก่อนการเริ่มต้นให้เนื้อหาวิชา
2. ขั้น การสาธิตจากครู (Demonstration from the Teacher)  หลังจากนำเข้าสู่บทเรียนแล้ว  ซึ่งหมายถึงว่าได้ข้อมูลจากผู้เรียนแล้ว  ได้ชี้แจงให้ผู้เรียนได้ทราบเป้าหมายที่จะเรียนจะฝึกกันแล้ว  ผู้เรียนได้มีปัญหาและมีความพร้อม  มีความสนใจที่จะแก้ปัญหานั้นกันแล้ว  ผู้สอนก็ควรจะเริ่มให้เนื้อหาด้วยการกล่าวถึงหลักทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง  อธิบายลักษณะงานวิธีการทำงาน  โดยมีรายละเอียดตามลำดับดังนี้
      - แสดงให้ผู้เรียนดูว่าทักษะที่จะเรียนกันนั้นปฏิบัติได้จริง
       - สาธิตพร้อม ๆ กับอธิบายงานว่า จะทำอะไร (What), ทำอย่างไร (How), และทำไมจึงต้องทำเช่นนั้น (Why) อาจจะทำการอธิบายประกอบคำถามก็ได้
       - สาธิตซ้ำอีกครั้ง  แต่สรุปเท่าที่จำเป็นที่สำคัญจริง ๆ
       - ทวนซ้ำอีกครั้ง (ถ้าจำเป็น)
3. ขั้นการสาธิตจากผู้เรียน (Demonstration from the Learner)  ควรจะให้โอกาสแก่ผู้เรียนได้สาธิตด้วยทั้งนี้โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ
       - ให้ผู้เรียนลองปฏิบัติให้ดูว่าทำได้หรือไม่  พร้อมกับให้การตรวจ-ปรับ
       - อาจให้ผู้เรียนปฏิบัติพร้อมกับการอธิบาย  โดยผู้สอนต้องคอยถามจุดสำคัญของเนื้อหาในแต่ละช่วงด้วยคำถาม ทำอะไร” “ทำอย่างไร” “ทำไมต้องทำอย่างนั้น
       - ให้ผู้เรียนหมุนเวียนกันสาธิต  พร้อมอธิบายสรุปเฉพาะจุดสำคัญ
       - ผู้สอนต้องมั่นใจว่าผู้เรียนทำได้โดยไม่ผิดพลาด  หากไม่แน่ใจให้ผู้เรียนทำซ้ำให้ดูใหม่จนแน่ใจ
4. ขั้น ให้แบบฝึกหัดและตรวจผลสำเร็จ (Exercise and Progress)   เมื่อแน่ใจว่า  ผู้เรียนทำได้แล้วโดยไม่ผิดพลาด  จึงจะมอบหมายให้ทำงานได้เพราะการฝึกทักษะปฏิบัติโดยการใช้เครื่องจักรมี อันตรายมาก  และอีกประการหนึ่งคือ ทักษะที่ฝึกจะลืมได้ยากดังนั้นหากฝึกในทางที่ผิด  ย่อมแก้ไขให้ดีได้ยาก  ในขั้นนี้ผู้สอนอาจทำตามลำดับขั้นตอน  ดังนี้
       - มอบงานฝึกให้ผู้เรียนไปปฏิบัติ
       - คอยตรวจสอบขณะปฏิบัติอยู่เสมอด้วยการถาม  สังเกตพฤติกรรมและตรวจดูชิ้นงานที่ฝึก
       - ชมเชย เสริมกำลังใจ  เมื่อผู้เรียนทำได้สำเร็จ  และให้การตรวจ-ปรับ  แก้ไขเมื่อผลงานไม่สำเร็จผล
                   บุญญศักดิ์  ใจจงกิจ (2519: 147-148) ได้กล่าวถึงวิธีการภาคปฏิบัติแบ่งได้เป็นขั้นตอนได้ 4 ขั้น  ตามวิธีการของ TWI – Method (TWI = Training Within Industry) คือ
1. ขั้น เตรียมการสอน  ผู้สอนจะต้องเตรียมตัวเพื่อสอน  เตรียมแบบ  เตรียมอธิบาย  ลักษณะงานที่จะให้นักเรียนทำ  เตรียมวิธีการที่จะเร่งเร้าความสนใจให้นักเรียนอยากทำ  และให้เข้าใจงานนั้นให้ดีเสียก่อน  ขั้นตอนนี้เป็นหน้าที่ของผู้สอน  นักเรียนเป็นผู้ฟัง
2. ขั้นครูทำให้ดู  ขั้นตอนที่ครูผู้สอนจะต้องสาธิตวิธีทำงานที่ถูกต้อง  หรือทักษะใหม่ให้นักเรียนดู  พร้อมกับอธิบายด้วยคำพูดที่ชัดเจน  ขั้นตอนนี้  นักเรียนเป็นผู้สังเกต
3. ขั้นนักเรียนทดลองทำดู  ขั้นตอนนี้นักเรียนเริ่มทดลองทำตามวิธีที่ครูได้สาธิตไว้  ครูจะต้องตามคอยสังเกต  ช่วยเหลือแก้ไขและแนะนำวิธีที่ถูกให้
4. ขั้น ปฏิบัติ  เมื่อได้แน่ใจว่านักเรียนเข้าใจและทำได้ถูกต้องวิธีแล้ว  ครูจะอนุญาตให้นักเรียนลงมือปฏิบัติได้  ครูจะเป็นผู้กำหนดชิ้นงานและควบคุมคุณภาพหรือตรวจให้คะแนนชิ้นงานนั้น ๆ
                             ปรียาพร  วงศ์อนุตรโรจน์ (2548: 101-103) ได้กล่าวถึง  การสอนทักษะปฏิบัติมีขั้นตอนดังนี้
1. วิเคราะห์ทักษะนั้น  ต้องพิจารณาแยกแยะรายละเอียดของทักษะนั้นออกมา
2. ตรวจ สอบความสามารถเบื้องต้นที่เกี่ยวกับทักษะของผู้เรียน  ว่ามีอะไร  เพียงใด  ให้ทดสอบการปฏิบัติเบื้องต้นต่าง ๆ ตามลำดับก่อนหลัง
3. จัดการฝึกหน่วย ย่อยต่าง ๆ และฝึกหนักในหน่วยที่ขาดไป  และอาจจะฝึกสิ่งที่เขาพอเป็นอยู่แล้วให้ชำนาญเต็มที่  และให้ความสนใจในสิ่งที่ยังไม่ชำนาญ
4. ขั้นอธิบายและสาธิตทักษะให้ผู้ เรียน  เป็นการแสดงทักษะทั้งหมด  ทั้งการอธิบาย  และการแสดงให้เห็นตัวอย่าง  โดยให้ผู้เรียนดูภาพยนตร์หรือผู้เชี่ยวชาญแสดงให้ดู  ในขั้นต้นไม่จำเป็นต้องอธิบายมาก  ให้ผู้เรียนดูตัวอย่างและสังเกตเอง  เพราะถ้าอธิบายมากจะเป็นสิ่งรบกวนการสังเกตของผู้เรียน  การใช้ภาพยนตร์สอนทักษะต่าง ๆ นั้นมีคุณค่าอย่างยิ่ง  ในขั้นแรกของการเรียน  และขั้นสุดท้ายของการเรียน  เพราะเมื่อผู้เรียนมีทักษะในขั้นสูงแล้ว  ก็อาจจะหันมาพิจารณารายละเอียดจากภาพยนตร์อีกครั้งหนึ่ง  การใช้ภาพยนตร์นั้น  เมื่อดูแล้วควรอภิปรายโดยให้ผู้เรียนอธิบายเป็นคำพูดของเขาเอง  และควรจะฉายให้ดูอีกครั้งก่อนที่จะลงมือปฏิบัติ
5. ขั้นจัดภาวะเพื่อการเรียน 3 ประการ คือ
5.1 จัดลำดับขั้นสิ่งเร้าและการตอบสนอง  ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติอย่างถูกต้องตามลำดับก่อนหลัง  สิ่งใดที่เกี่ยวกันต้องจัดให้ติดต่อกัน
5.2 การ ปฏิบัติ  ต้องจัดกำหนดเวลาของการปฏิบัติให้ดี  จะใช้เวลาแต่ละครั้งนานเท่าใด  หรือแต่ละครั้งจะมีการหยุดพักมากน้อยเพียงใด  การฝึกแต่ละอย่างอาจใช้ครั้งเดียวหรือหลายครั้ง  จะต้องคิดพิจารณาให้ดี  จะใช้การปฏิบัติแบบแบ่งปฏิบัติหรือฝึกแบบรวดเร็วเดียวกัน  ขึ้นอยู่กับขั้นต่าง ๆ ของการเรียนทักษะ  ในขั้นสุดท้ายของการเรียนทักษะอาจจะใช้การฝึกฝนนานได้
5.3 ให้รู้ผลของ การปฏิบัติ  การรู้ผลนั้นมี 2 อย่าง คือ รู้จากคำบอกเล่าของครูผู้สอนและรู้ผลโดยตัวเอง  ในขั้นแรก ๆ บอกเล่าว่าเขามีข้อบกพร่องอย่างไร  แบบนี้เป็นการรู้ผลจากภายนอกเป็นการบอกให้รู้ว่าจะแก้ไขอย่างไร  พอผู้เรียนก้าวหน้าไปถึงขั้นที่สองและขั้นที่สาม  คือมีความชำนาญมากขึ้น  เขาจะสังเกตตัวเอง  เป็นการรู้ผลจากตัวเองโดยดูจากผลของการเคลื่อนไหว
                            ชม ภูมิภาค (2516: 236-237) ได้กล่าวถึง  การสอนทักษะใด ๆ ก็ตามย่อมจะมีขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ คือ
1. วิเคราะห์ทักษะนั้น  ต้องพิจารณาแยกแยะรายละเอียดของทักษะนั้นออกมา  จัดลำดับการกระทำก่อน หลัง ไว้ให้ดี
2. ตรวจ สอบความสามารถเบื้องต้นที่เกี่ยวกับทักษะของผู้เรียนว่ามีอะไร  เพียงใดให้ทดสอบการปฏิบัติเบื้องต้นต่าง ๆ ตามลำดับก่อน หลัง ต้องฝึกหน่วยที่ขาดเสียก่อน
3. จัดการฝึกหน่วยต่าง ๆ โดยเฉพาะในหน่วยที่ขาดไป  หรืออาจจะฝึกสิ่งที่เขาพอเป็นอยู่แล้ว ให้ชำนาญเต็มที่
4. ขั้น อธิบายและสาธิตทักษะให้ผู้เรียน  ในขั้นนี้เป็นการแสดงทักษะทั้งหมด  เป็นการอธิบาย  เป็นการแสดงให้เห็นตัวอย่าง  ให้ผู้เรียนดูวิดีโอ  ดูภาพยนตร์  หรือให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงให้ดู
5. จัดภาวะเพื่อการเรียนทักษะ 3 ประการให้  ในเรื่องนี้ก็คือ การจัดลำดับสิ่งเร้าและการตอบสนองให้นักเรียนได้ปฏิบัติถูกต้อง ตามลำดับก่อน หลัง  สิ่งใดที่เกี่ยวเนื่องกันต้องจัดให้ติดต่อกัน  การปฏิบัตินั้นต้องจัดกำหนดเวลาของการปฏิบัติให้ดี  จะใช้เวลาแต่ละครั้งนานเพียงใด  หรือแต่ละครั้งจะมีการหยุดพักมากน้อยเพียงใด  การฝึกแต่ละอย่างจะใช้ครั้งเดียวหรือกี่ครั้งจะใช้การปฏิบัติแบบแบ่ง ปฏิบัติ  หรือฝึกแบบรวดเดียวนั้นขึ้นอยู่กับขั้นต่าง ๆ ของการเรียนทักษะ  ในขั้นสุดท้ายของการเรียนทักษะอาจจะใช้เวลาฝึกฝนนาน ๆ ได้ และสิ่งที่สำคัญคือ การรู้ผลการปฏิบัติ  การรู้ผลนั้นก็มี 2 อย่างคือ รู้ผลจากภายนอก คือจากคำบอกกล่าวของผู้สอนหรือครู  และการรู้ผลภายในตัวเอง  เขาจะสังเกตตนเอง เป็นความรู้สึกภายใน